วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เคล็ดลับของกล้วยฉาบ


เคล็ดลับ
กล้วยฉาบที่ดี ควรจะมีน้ำตาลฉาบชิ้นกล้วยบาง ๆ เป็นสีขาว ชิ้น กล้วยฉาบควรกรอบ สีเหลือง อ่อนสม่ำเสมอ รสหวานมันมีรส เค็มเล็กน้อย เสิรมให้รสกลมกล่อมดีขึ้น

กล้วยฉาบรสเค็ม
วิธีทำ
๑. เลือกกล้วยไข่ดิบ นำมาปอกเปลือก
๒. ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำกล้วยมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
๓. นำกล้วยมาไสกับเครื่องใสกล้วย เป็นแผ่นบางๆ ผสมเนยและน้ำเกลือ อัตราส่วนเนย ๑ ทัพพี/น้ำเกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ นำลงทอดในกระทะที่น้ำมันร้อนจัด ทอดจนเหลือง (ประมาณ ๑๐-๑๒ นาที)
๔. นำมาพักไว้ในกระจาดเพื่อให้สะเด็ดน้ำมัน ผึ่งให้เย็น
๕. แล้วจึงบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ นำออกจำหน่าย

กล้วยฉาบรสหวาน
 วิธีทำ
๑. เลือกกล้วยไข่ดิบมาปอกเปลือก
๒. นำกล้วยมาแช่น้ำไว้สักครู่ จึงนำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
๓. นำกล้วยมาไสกับเครื่องไสกล้วย เป็นแผ่นบางๆ
๔. นำกล้วยที่ไสแล้วมาชั่งในอัตราส่วน กล้วยดิบ ๓ กิโลกรัมครึ่ง ต่อเนยและน้ำตาลปี๊บ ๑ กิโลกรัม
๕. เตรียมตั้งกระทะ เทน้ำมันที่ผสมเนย รอจนร้อน
๖. นำกล้วย เนย น้ำตาลปี๊บ ลงทอดพร้อมกันในน้ำมัน (ประมาณ ๑๒-๑๕ นาที) คนตลอดเวลา จนกล้วยเหลืองสวยงามดี และใช้กระชอนตักขึ้น พักไว้บนกระจาด เพื่อให้สะเด็ดน้ำมัน ใช้ทัพพีคนให้ทั่วจนเย็น
๗. แล้วจึงบรรจุลงบรรจุภัณฑ์นำออกจำหน่าย

วิธีการทำกล้วยฉาบรสเค็ม


วิธีทำ

1. นำกล้วยห่ามและแก่จัดมาปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตามความยาวของผลโดยให้มีความหนาเท่า ๆ กัน นำไปแช่ในน้ำปูนใสผสมกับน้ำเกลืออ่อน ๆ 1015 นาที สงขึ้นแล้วนำไปล้างน้ำสะอาด ผึ่งในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ

2. นำลงทอดในน้ำมันให้เหลืองกรอบด้วยไฟอ่อน ๆ ตักขึ้นใส่ตะแกรง ตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

3. นำลงคลุกกับเนยหรือมาการีนที่เตรียมไว้ แล้วตักขึ้นตั้งไว้ให้พอเย็น

4. บรรจุลงภาชนะที่สะอาดมิดชิด หรือใส่ถุงพลาสติกผนึกสนิท

สามารถรักษาความกรอบได้ 1 สัปดาห์ เหมาะสำหรับเป็นอาหารว่างและจำหน่ายได้

วัสดุอุปกรณกล้วยฉาบรสเค็ม


ส่วนผสม

1. กล้วยน้ำว้าดิบแก่ (ฝานแล้ว) 4 ถ้วยตวง

2. น้ำมันสำหรับทอด 6 ถ้วยตวง

3. น้ำปูนใส 6 ถ้วยตวง

4. น้ำเกลืออ่อน ๆ 6 ถ้วยตวง

5. เนยหรือมาการีน 8 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำกล้วยฉาบรสหวาน


วิธีการทำกล้วยฉาบหวาน
                          
1.
นำกล้วยมาปอกเปลือกแล้วนำไปแช่น้ำเกลือไว้เพื่อไม่ให้กล้วยมีสีดำ
2.ฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆตามยาวหรือตามขวางก็ได้แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน
3.นำกล้วยลงไปทอดในน้ำมันที่ผสมเนยและใบเตย หมั่นกลับกล้วยบ่อยๆให้สุกสม่ำเสมอกัน จนกรอบ ไม่ต้องให้กล้วยเหลืองจากกระทะ คือเอาให้พอกรอบ แล้วพอตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน กล้วยจะเหลืองเอง
4.
ตั้งกระทะ ใส่น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำตาล 1/2 ถ้วย ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวให้น้ำตาลเหนียวและเหลือง ลดไฟลง
5.
นำกล้วยที่ทอดเสร็จไปคลุกเคล้ากับน้ำตาล ระวังอย่าทำแรงเพราะกล้วยจะแตก




วัสดุและอุปกรณ์ในการทำกล้วยฉาบรสหวาน


วัสดุและอุปกรณ์ในการทำกล้วยฉาบหวาน

1.กล้วยที่แก่จัด แต่ไม่ถึงกับสุก กล้วยที่นิยมนำมาฉาบจะเป็น กล้วยน้ำหว้า
2.น้ำมันสำหรับใช้ทอด
3.น้ำตาลทราย
4.เกลือ
5.เนย
6.ใบเตย

วิธีทำดอกจอก


วิธีทำขนมดอกจอก


-ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งสาลีเข้าด้วยกัน ใส่น้ำปูนใสและน้ำทีละน้อย ใส่ไข่ไก่ น้ำตาล เกลือ คนให้เข้ากัน

-ใส่น้ำมันลงในกระทะทอง แช่พิมพ์สำหรับทำขนมในน้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟกลาง ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงจุ่มในน้ำมัน พอแป้งอยู่ตัวและสะบัดออกจากพิมพ์ ตักขึ้น ให้สะเด็ดน้ำมันปล่อยให้เย็น เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิทเป็นอันเสร็จเรียบร้อยในการทำขนมดอกจอก



ข้อแนะนำในการทำขนมดอกจอก

-พิมพ์ที่ใช้ทำขนมควรแช่ในน้ำมันก่อน 1 คืน จะทำให้ขนมล่อนจากพิมพ์ได้ง่าย

-ถ้าพิมพ์ไม่ร้อนจะจุ่มแป้งไม่ติด และถ้าน้ำมันติดพิมพ์มากแป้งจะไม่ติด

-ควรคนแป้งให้เข้ากันก่อนทุกครั้ง ก่อนจุ่มพิมพ์ เพราะแป้งที่ผสมไว้จะนอนก้น

-การทอดแต่ละครั้ง ควรแบ่งแป้งใส่ถ้วยก้นลึกที่มีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์เล็กน้อย



วัสดุ-อุปกรณ์ขนมดอกจอก


วัสดุ-อุปกรณ์

1.    แป้งข้าวเจ้า  5 ขีด

2.   แป้งมัน  5 ขีด

3.    แป้งสาลี  2.5  ขีด

4.   ไข่ไก่  5  ฟอง

5.   น้ำตาลทราย  1  ถ้วย

6.   เกลือป่น  3 ช้อนโต๊ะ

7.   น้ำปูนใส  2 ½ ถ้วย

8.    น้ำ  2  ถ้วย

9.    น้ำมัน    ถ้วย

10.               น้ำมันสำหรับทอด  1 ก.ก.

11.พิมพ์สำหรับทำขนม




กล้วยฉาบ


ประวัติความเป็นมาของกล้วยฉาบ
   เป็นการนำผลไม้มาทำการแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น การนำกล้วยน้ำว้านำมาแปรรูปเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านคลองสี่เสียด และได้มีการจำหน่ายไปตามจังหวัดต่างๆ รวมถึงการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จนกระทั้งได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตชื่อกลุ่มสตรีบ้านคลองสี่เสียด ซึ่งถือเป็นสินค้าotopอันดับต้นๆของจังหวัดนครนายก เป็นที่รู้จักกันในชื่อ กล้วยทอด ผู้ใหญ่หนู
เริ่มจากการที่สมาชิกในกลุ่มปลูกกล้วยกันทุกบ้าน ผลผลิตกล้วยที่ได้เมื่อนำไปขายก็ไม่ได้เงินมากนัก จึงได้ทดลองนำกล้วย ที่หาได้ในหมู่บ้านมาลองทำกล้วยทอด หรือ ที่เรียกกันว่ากล้วยฉาบขาย เริ่มจากการทำขายเล็กๆ น้อยๆ ส่งขายตามร้านขายของฝากในจังหวัดนครนายก ต่อมาได้มีการทดลองนำวัตถุดิบตัวอื่นๆ ที่สามารถหาได้ในหมู่บ้านใกล้เคียงในจังหวัดนครนายก อย่าง เผือก และมันมาทดลองทอดดูบ้างในลักษณะเช่นเดียวกับกล้วย ปรากฎว่าเมื่อนำออกขายผลตอบรับออกมาดีจึงได้ทำเผือก และมันทอดขายร่วมกับกล้วยทอดมาตลอด

ขนมดอกจอก

ขนมดอกจอก


 ขนมดอกจอก เป็นขนมโบราณ เป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มจะหาทานยาก เด็ก ๆ สมัยนี้อาจจะไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมจากเด็กรุ่นใหม่ ขนมดอกจอกเป็นขนมที่มีรูปทรงคล้ายดอกจอกที่มีเเหล่งกำเนิดอยุ่ในน้ำ รูปทรงสวยงามน่ารับประทาน เเต่เนื่องจากเป็นขนมที่ต้องใช้น้ำมันพืชปริมาณมากในการทอดจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมกับคนสมัยนี้ที่เน้นเรื่องสุขภาพเป็นสำคัญ เพราะอาจทำให้มีคอลเรตเตอรอลสูงเเละทำให้อ้วนได้
ขนมดอกจอก ในสมัยก่อนเป็นที่นิยมมากจะเป็นหนึ่งในขนมที่จัดขึ้นในงานเเละพิธีการสำคัญต่างๆเช่นงานบวช งานเเต่งงาน งานขึ่นบ้านใหม่ เป็นต้น ไม่เเพ้ขนมไทยอย่างทองหยิบ ทองหยอด หรือฝอยทองที่เป็นที่นิยมทั่งในอดีตและปัจจุบัน

ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย  ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ  จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ  และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น  เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น  สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น  ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น  หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย  ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์

แต่ตามความเชื่อบางอย่างของคนไทย ขนมที่มีลักษณะเป็นเส้น มักจะใช้สำหรับงานทำบุญอายุ  เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว  แต่กลับไม่ใช้จัดในงานศพ  เพราะเชื่อว่าจะมีการตายต่อเนื่องไม่เป็นมงคล  ความเชื่อเหล่านี้ถือเป็นเหตุผลของแต่ละบุคคลมิได้เป็นข้อห้ามเสียทีเดียว
ขนมที่ใช้เป็นเครื่องสังเวยพระภูมิ คือ
1. ขนมต้มแดง
2. ขนมต้มขาว
3. ขนมเล็บมือนาง (ขนมคันหลาว)
4. ขนมดอกจอก หรือขนมทองหยิบ
5. ขนมถั่วแปบ (ขนมหูช้าง)
6. ขนมข้าวเหนียวแดง
7. ขนมประเภทบวดต่าง ๆ

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาว จุฬาลักษณ์  เผือกสวัสดิ์

ชื่อเล่น : เอิงเอย   อายุ : 15 ปี

วันเกิด :  24 มิถุนายน  2542

ที่อยู่ : 65/26 ถนน.สุราษฎร์-ปากน้ำ ซอย  : ปากน้ำ 3 หมู่บ้าน อุทยานทอง อำเภอ เมือง จังหวัด  สุราษฎร์ธานี   

Facebook : EungAtomos 

Line  :  chanomatomos

Email : erngjmmay@gmail.com

ศึกษาอยู่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/2  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา